“กรมราง” สั่งปฏิบัติ 4 มาตรการ ไม่ให้ซ้ำรอยบีทีเอส คนติดนาน-เตรียมหาทางเยียวยา

เมื่อวันที่ 19 พ.ค. นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ขร. ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์รถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง ที่เป็นเหตุให้ผู้โดยสารติดอยู่ในขบวนรถเป็นเวลานาน ซึ่งกรณีดังกล่าว เป็นที่สนใจจนติดเทรนด์ทวิตเตอร์ อันดับ 1 จึงได้กำชับให้ผู้ประกอบการขนส่งทางราง ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของการประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางรางก่อนหน้านี้ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้าทุกเส้นทางดำเนินการ เพื่อป้องกัน หรือลดโอกาสการเกิดเหตุขัดข้องในระบบรถไฟฟ้า ดังนี้ 1.ด้านรถขนส่งทางราง ดำเนินการตรวจสอบสภาพขบวนรถตามรายการตรวจสภาพ (Checklist) ทุกวันคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ต้องจัดให้มีบริการตู้โดยสารสำรอง เพื่อหมุนเวียนตู้โดยสารที่ใช้วิ่งบริการในเวลาเร่งด่วน โดยยังคงจัดเตรียมขบวนรถสำรอง สำหรับวิ่งให้บริการทดแทนในกรณีเกิดเหตุขัดข้องได้อย่างทันท่วงที 2.ด้านการประชาสัมพันธ์ จัดทำแผน และซักซ้อมการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ผู้โดยสารทราบถึงสถานการณ์กรณีเกิดเหตุขัดข้องต่างๆ อย่างทันท่วงทีและครบถ้วน อาทิ ขั้นตอนการดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการ และแนวทางปฏิบัติของผู้โดยสารเป็นระยะ 3.ด้านการประสานความร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นๆ เพื่อเตรียมแผนการรองรับการเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารกรณีเกิดเหตุขัดข้องที่ส่งผลกระทบต่อการเดินรถอย่างมากหรือใช้ระยะเวลาแก้ไขนาน เพื่อให้ผู้โดยสารมีทางเลือกในการตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางได้อย่างสะดวก และทันท่วงทีคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า 4.ด้านการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ให้จัดอบรมพัฒนาทักษะทีมบุคลากรช่างเทคนิคอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงซักซ้อมเหตุขัดข้องจากโครงสร้าง และอุปกรณ์ในเขตราง (Railway Structure) ในกรณีต่างๆ แบบเสมือนจริง เพื่อลดระยะเวลาดำเนินการแก้ไข และทำให้ขบวนรถสามารถวิ่งให้บริการตามตารางเดินรถปกติได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งซักซ้อมแผนเผชิญเหตุจากเหตุขัดข้องที่มีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์หรือควบคุมได้ อาทิ เหตุระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling System) ขัดข้อง

นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า สำหรับมาตรการเยียวยาผู้โดยสารเมื่อได้รับผลกระทบ ขร. จะหารือกับผู้ให้บริการเพื่อพิจารณามาตรการเยียวยา ดังนี้ 1.มาตรการให้ผู้ให้บริการขนส่งทางรางออกใบรับรอง เพื่อนำไปใช้กับที่ทำงาน หรือโรงเรียนว่า รถไฟฟ้าเกิดเหตุล่าช้า โดยระบุระยะที่ให้บริการล่าช้าเป็นจำนวนนาที 2.มาตรการคืนค่าโดยสารเต็มจำนวน หากประสบเหตุขัดข้องส่งผลให้ล่าช้ามากกว่า 30 นาที และ 3.ให้ผู้ให้บริการขนส่งทางราง กำหนดกรณีที่จำเป็นต้องอพยพผู้โดยสาร และวิธีการดำเนินการ รวมถึงการซ้อมเผชิญเหตุให้ชัดเจน เพื่อลดความกังวลของผู้โดยสารให้ได้มากที่สุด

By admin

Related Post